เมนู

3. อาสวโคจฉกวิสัชนา


[792] ปฏิสัมภิทา 4 เป็นโนอาสวะ, ปฏิสัมภิทา 3 เป็นสาสวะ,
อัตถปฏิสัมภิทา เป็นสาสวะก็มี เป็นอนาสวะก็มี, ปฏิสัมภิทา 4 เป็นอาสววิปปยุต,
ปฏิสัมภิทา 3 กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ แต่เป็นสาสวโนอาสวะ,
อัตถปฏิสัมภิทา กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ แต่เป็นสาสวโนอาสวะก็มี,
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสาสวโนอาสวะก็มี, ปฏิสัมภิทา 4 กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น
อาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ ปฏิสัมภิทา 3 เป็นอาสว-
วิปปยุตตสาสวะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสว-
วิปปยุตตอนาสวะก็มี.

4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา


[793] ปฏิสัมภิทา 4 เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา 4
เป็นโนคันถะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา 4 เป็นโนโอฆะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา 4
เป็นโนโยคะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา 4 เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา 4 เป็น
โนปรามาสะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา 4 เป็นสารัมมณะ เป็นโนจิตตะ เป็นเจตสิกะ
เป็นจิตตสัมปยุต เป็นจิตตสังสัฏฐะ เป็นจิตตสมุฏฐานะ เป็นจิตตสหภู เป็น
จิตตานุปริวัตติ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู เป็น
จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ เป็นพาหิระ เป็นโนอุปาทา เป็นอนุปาทินนะ
ปฏิสัมภิทา 4 เป็นโนอุปาทานะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา 4 เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ

13. ปิฏฐิทุกวิสัชนา


[794] ปฏิสัมภิทา 4 เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ เป็นนภาวนายปหา-
ตัพพะ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ, ปฏิ-
สัมภิทา 3 เป็นสวิตักกะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี,

ปฏิสัมภิทา 3 เป็นสวิจาระ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี,
ปฏิสัมภิทา 4 เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นน-
ปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็
มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี, ปฏิสัมภิทา 3 เป็นกามาวจร อัตถปฏิสัมภิทา
เป็นกามาวจรก็มี เป็นนกามาวจรก็มี ปฏิสัมภิทา 4 เป็นนรูปาวจร เป็นน-
อรูปาวจร ปฏิสัมภิทา 3 เป็นปริยาปันนะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นปริยาปันนะ
ก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี, ปฏิสัมภิทา 3 เป็นอนิยยานิกะ, อัตถปฏิสัมภิทา
เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี, ปฏิสัมภิทา 3 เป็นอนิยตะ อัตถปฏิสัมภิ-
ทา เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี, ปฏิสัมภิทา 3 เป็นสอุตตระ, อัตถปฏิสัมภิทา
เป็นสอุตตระก็มี เป็นอนุตตระก็มี ปฏิสัมภิทา 4 เป็นอรณะ ฉะนี้แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ
ปฏิสัมภิทาวิภังค์ จบบริบูรณ์

อรรถกถาปฏิสัมภิทาวิภังค์


วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


บัดนี้ พึงทราบปฏิสัมภิทาวิภังค์ในลำดับแห่งสิกขาบทวิภังค์นั้นต่อไป

คำว่า 4 เป็นคำกำหนดจำนวน.
คำว่า ปฏิสมฺภิทา ได้แก่ ปัญญาอันแตกฉาน. อธิบายว่า ก็เพราะ
ข้างหน้านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อตฺเถ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็น
ต้น แปลว่า ญาณ (ปัญญา) ในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ฉะนั้น
บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่เป็นการแตกฉานของใครๆ เลย นอกจากเป็นการแตก